firstly tech

Loading...

Tissue Fixative Neutral Buffered Formalin

น้ำยารักษาสภาพชิ้นเนื้อ (Tissue Fixative)

รายละเอียดเพิ่มเติม

น้ำยาชนิดนี้ใช้สำหรับรักษาสภาพชิ้นเนื้อ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา และเซลล์วิทยา(ในการย้อมเซลล์) โดยน้ำยาจะรักษาสภาพสิ่งตัวอย่างที่ได้มาจาก การผ่าตัด(Surgery), นารีวิทยา (Gynecology) และ การส่องกล้องจากทางเดินอาหาร (Gastroerological endoscope) เป็นต้น น้ำยานี้ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่มีการควบคุมการผลิตอย่างเข้มงวด จึงทำให้น้ำยาทุดขวดออกมามีคุณภาพมาตรฐาน น้ำยานี้ ตามใบอนุญาตขององค์การอาหารและยาของประเทศจีน (เลขที่ใบอนุญาต 20150029) จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ Class I IVD โดยน้ำยา ที่บรรจุในขวดมีความเข้มข้น ที่ 10% และ 13% ด้วยสูตร Neutral Buffered Formalin เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน เหมาะสำหรับในการถนอมชิ้นเนื้อ โดยน้ำยาสามารถซึมผ่านชิ้นเนื้อได้รวดเร็ว  แต่สามารถรักษาสภาพชิ้นเนื้อได้ยาวนาน จนกว่าจะสู่ขั้นการเตรียมชิ้นเนื้อ ในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา โดย Neutral Buffered Formalin ต่างจากการใช้สารละลายฟอร์มาลีนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกรดที่เกิดจากการแช่ชิ้นเนื้อ จะทำปฏิกิริยากับฮีโมโกลบินที่อยู่ในชิ้นเนื้อ จะเกิดเม็ดสี สีน้ำตาลของ Formaldehyde haematin ซึ่งจะรบกวนการแปลผล แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา ที่ไม่ต้องมาสัมผัสสารอันตราย ทั้งในการจัดเก็บและการเตรียมสารละลาย

  • ตัวกระป๋องเก็บป้องกันการหก รั่วไหลของน้ำยา
  • มีสติ๊กเกอร์ สำหรับบันทึกข้อมูล
  • ปริมาณน้ำยา มีตั้งแต่ 3 -120 มล. เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย
  • ที่วางกระป๋อง (อุปกรณ์เสริม)

คุณลักษณะพิเศษ

  • 4% ฟอร์มาลิน ที่สามารถซึมผ่านชิ้นเนื้อได้อย่างรวดเร็ว และไม่ทำให้ชิ้นเนื้อหดตัว
  • Hypotonic phosphate buffer saline ที่ช่วยถนอมชิ้นเนื้อและรักษาสภาพpH
  • Neutral pH ช่วยยังยั้งการก่อตัวเม็ดสี สีน้ำตาลของ Formaldehyde haematin และรักษาส่วนที่เป็น Antigen
  • สีแดงในน้ำยา ช่วยให้สามารถเห็นชิ้นเนื้อในกระป๋องเก็บได้ดีขึ้น 

การใช้งาน

ขนาดชิ้นเนื้อ ขนาดชิ้นเนื้อไม่ควรหนาเกิน 5 มม. เนื่องจาก อัตราการซึมผ่านเนื้อเยื่อ อยู่ที่ 0.5 มล. ต่อ ชั่วโมง
อัตราส่วนน้ำยา น้ำยาควรมีปริมาณ 4-10 เท่า ต่อ ขนาดปริมาณชิ้นเนื้อ
ระยะเวลา ควรนำชิ้นเนื้อที่ได้ มาแช่ในน้ำยาทันที และ ควรแช่ทิ้งไว้ 1-4 ชั่วโมง ขึ้นความขนาดและความหนาของชิ้นเนื้อ

ข้อควรระวัง
Formaldehyde ระคายเคืองต่อตา เป็นสารพิษห้ามรับประทาน หรือสูดดม  ในการปฏิบัติงานควรทำในที่อากาศถ่ายเท สวมเสื้อกาวน์ และ อุปกรณ์ป้องกัน*